ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โอลิมปิกฤดูร้อน 2012

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30 ประจำปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) (อังกฤษ: 2012 Summer Olympics) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 30 (อังกฤษ: Games of the XXX Olympiad) จัดขึ้นที่กรุงลอนดอนของสหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม ถึง 12 สิงหาคม การแข่งขันฟุตบอลหญิงรอบแบ่งกลุ่ม ซึ่งเป็นรายการแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม สองวันก่อนพิธีเปิด จะมีนักกีฬากว่า 10,000 คน จาก 204 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เข้าร่วม

หลังการประมูลเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งนำโดย ลอร์ด เซบาสเตียน โคอ์ (Lord Sebastian Coe) และเคนเนธ ลิฟวิงสโตน (Kenneth Livingstone) นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนในขณะนั้น ลอนดอนได้รับเลือกเป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ระหว่างสมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 117 ในสิงคโปร์ เอาชนะคู่แข่งจากกรุงมอสโก นครนิวยอร์ก มาดริด และกรุงปารีส กรุงลอนดอนกลายเป็นนครแรกของโลก ที่เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันโอลิมปิกสมัยใหม่ถึงสามครั้ง ครั้งที่ผ่านมา ได้แก่ ครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2451) และครั้งที่ 14 (พ.ศ. 2491)

มีการพัฒนาหลายพื้นที่ของกรุงลอนดอน เพื่อรองรับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จุดสนใจหลักอยู่ที่อุทยานโอลิมปิกแห่งใหม่ ขนาด 200 เฮกตาร์ ซึ่งสร้างขึ้นภายในนิคมอุตสาหกรรมเก่า ของสแตรตเฟิร์ด (Stratford) ลอนดอนตะวันออก การแข่งขันคราวนี้ยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้สนามแข่งขันที่มีอยู่แล้วจำนวนมากก่อนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพด้วย

โอลิมปิกครั้งนี้ได้รับการชมเชยอย่างกว้างขวางในด้านการจัดการแข่งขัน โดยอาสาสมัคร กองทัพอังกฤษและความสนใจของสาธารณะได้รับการยกย่องเป็นพิเศษพิธีเปิด ซึ่งกำกับโดย แดนนี บอยล์ ได้รับความชื่นชมทั่วไป ระหว่างการแข่งขัน ไมเคิล เฟลส์กลายเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่ได้รับเหรียญรางวัลมากที่สุดตลอดกาล โดยได้เหรียญที่ 22 ในการแข่งขันครั้งนี้ สหราชอาณาจักรได้รับเหรียญทองมากที่สุดนับแต่ พ.ศ. 2451 โดยอยู่ในอันดับที่สามของตารางสรุปเหรียญ และยูเซน โบลต์เป็นนักวิ่งระยะสั้นคนแรกที่ได้เหรียญทองการวิ่งระยะสั้นในโอลิมปิกสามครั้งติดต่อกัน ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์และบรูไนส่งนักกีฬาหญิงเข้าแข่งขันเป็นครั้งแรก และมีการจัดการแข่งขันมวยหญิงในโอลิมปิกครั้งนี้ด้วย ทำให้โอลิมปิกครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทุกประเทศและทุกชนิดกีฬามีนักกีฬาหญิงเข้าแข่งขัน

ท้ายชื่อของแต่ละเมือง กำกับด้วยคะแนนซึ่งได้รับจากการคัดเลือกเป็น 5 เมืองสุดท้าย ซึ่งแสดงด้วยตัวหนา

การตัดสินลงคะแนนในรอบสุดท้าย มีขึ้นระหว่างการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ครั้งที่ 117 ที่ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปรากฏผลตามตารางต่อไปนี้

กีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในครั้งนี้ จะผสมผสานกันระหว่าง สถานที่จัดงานซึ่งสร้างขึ้นใหม่ โบราณสถานที่มีอยู่แล้ว และสถานที่ชั่วคราว สำหรับบางส่วนของสถานที่เหล่านี้ ที่รู้จักโดยทั่วไปได้แก่ สวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก และการสวนสนามของทหารม้ารักษาพระองค์ สถานที่บางส่วนจะมีการนำกลับมาใช้ใหม่ ขณะที่อย่างอื่นจะปรับขนาดหรือโยกย้าย

สถานที่จัดงานส่วนมาก แบ่งออกเป็นสามเขต ภายในเกรเทอร์ลอนดอน ประกอบด้วย เขตโอลิมปิก เขตแม่น้ำ และเขตกลาง นอกจากนั้นยังมีสถานที่จัดแข่งขัน ที่จำเป็นต้องอยู่รอบนอกเขตเกรเทอร์ลอนดอน อาทิสถาบันเรือใบแห่งชาติเวย์มัธและพอร์ตแลนด์ (Weymouth and Portland National Sailing Academy) บนเกาะแห่งพอร์ตแลนด์ (Isle of Portland) ในเมืองดอร์เซต (Dorset) ซึ่งเป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือใบ อยู่ห่างจากลอนดอนไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 125 ไมล์ (200 กิโลเมตร) สำหรับการแข่งขันฟุตบอลจะใช้สนามหลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร

โครงการอุทยานโอลิมปิกลอนดอน (London Olympic Park) ขนาด 500 เอเคอร์ เปิดเผยขึ้นในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) มีการอนุมัติให้ออกแบบทำเล เมื่อเดือนกันยายนปีเดียวกัน โดย ทาวเวอร์ ฮัมเล็ทส์, นิวแฮม แฮ็กนีย์ และ วอล์ทแฮม ฟอเรสท์ และการก่อสร้างเริ่มขึ้น ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) สำหรับหมู่บ้านนักกีฬาในนครพอร์ตแลนด์ เสร็จสมบูรณ์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011)

โดยพัฒนาของอุทยานโอลิมปิกนั้นอาจจะต้องใช้การเวนคืนพื้นที่ด้วย โดยสำนักงานการพัฒนาแห่งกรุงลอนดอนและการรถไฟลอนดอน มีข้อพิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ใน เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ซึ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งที่มีถึง 180 เอเคอร์ เป็นที่ดินของการทางรถไฟสแตรทฟอร์ด รวมไปถึงการสร้างบ้านใหม่ถึง 4,500 หลัง, สำนักงาน, โรงแรม และ ร้านค้า โดยล่าสุดในปีค.ศ. 2011 ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ได้ถูกสร้างเสร็จโดย เวสต์ฟิลด์ โดยที่ดิน 86% มาจากการเวนคืนพื้นที่ โดยกระทำนี้นำไปสู่การคำถามต่างๆนานา และในครั้งนั้น มี 206 บริษัทที่ต้องย้ายออกไปใน เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 นอกจากนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในฝ่ายต่อต้านการเวนคืนที่ดินกับการขับไล่และความพยายามที่จะหาวิธีที่จะหยุดการกระทำนี้ แต่พวกเขาที่ต้องย้ายออกด้วยการเวนคืนทั้งหมด 94% และที่ดินอื่นๆอีก 6% ซึ่งการเวนคืนใช้เงินทั้งหมด 9 พันล้านปอนด์

ระบบการเดินทางสาธารณะในลอนดอน ได้คะแนนที่ไม่ค่อยดี ในการประเมินของ IOC อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานการบริหารเมืองของกรุงลอนดอน ก็ได้ปรับปรุงเพื่อต้อนรับการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน หรือ TfL ได้ดำเนินการปรับปรุงระบบการเดินทางสาธารณะใหม่ทั้งหมดภายในปี พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) รวมไปถึงการขยายเส้นทาง รถไฟเหนือดินลอนดอน ในเส้นทางลอนดอนตะวันออก และเพิ่มเส้นทาง รถไฟเบาสายดอคแลนดส์ และ การเดินรถไฟทางลอนดอนเหนือและการนำเข้ารถไฟหัวกระสุนความเร็วสูงที่มีชื่อว่า "จาเวลีน"จากบริษัทฮิตาชิโดยชานชาลาที่ สถานีรถไฟนานาชาติสแตรทฟอร์ด (ออกแบบมาเพื่อรถไฟยูโรสตาร์) จะถูกนำมาใช้ในเส้นทางของการเดินรถไฟจาเวลีนโดยในเครือข่ายรถไฟทั้งหมด จะเพิ่มการเดินรถ 4,000 ขบวนในช่วงที่มีการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มตู้โดยสารในทุกๆวัน

องค์การคมนาคมสำหรับลอนดอน ได้ทำการสร้าง เคเบิลคาร์ ด้วยเงิน 25 ล้านปอนด์ โดยเส้นทางของเคเบิลคาร์จะข้าม แม่น้ำเทมส์ ซึ่งเคเบิลคาร์นี้จะเชื่อมทุกๆสถานที่ในการแข่งขันโดยจะเปิดใช้ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) โดยจะข้าม แม่น้ำเทมส์ ที่ กรีนวิช เพนินซูลา กับ รอยัล ด็อคส์ ซึ่งแต่ละชั่วโมงจะนำผู้โดยสาร 2,500 คน ด้วยความสูงประมาณ 50 เมตรกลางอากาศ มันถูกออกแบบมาเพื่อลดการเดินทางระหว่าง โอทู อารีนา กับ ศูนย์จัดแสดงสินค้าเอ็กซ์เซล ซึ่งเคเบิลคาร์จะให้ข้ามทุกๆ 30 วินาที

โดยจัดการแผนนี้จะทำให้เหล่านักกีฬา 80% สามารถเดินทางไปแข่งขันได้ในเวลาที่น้อยกว่า 20 นาทีและนักกีฬา 93% ที่ใช้เวลาน้อยกว่า 30 นาทีโดยบริเวณ อุทยานโอลิมปิกลอนดอน จะเป็นศูนย์รวมของชุมทางรถไฟขนาดใหญ่ถึง 10 สายเข้าด้วยกัน ซึ่งจะมีผู้โดยสารประมาณ 240,000 คนต่อชั่วโมงนอกจากนี้ อีกแผนหนึ่งที่ดำเนินการไปแล้วถึง 90% ซึ่งจะมีทั้งสถานีขนส่งสาธารณะและอื่นๆส่วนสองสวนสาธารณะที่จะถูกปิดเพื่อเป็นที่จุรถ 12,000 คันต่อ 25 นาทีจาก อุทยานโอลิมปิกลอนดอน และสามารถที่จะจุผู้คนถึง 9,000 คนเพื่อขึ้นรถบัสในทุกๆ 10 นาที และการวางแผนสวนสาธารณะนี้จะอยู่ใกล้กับ แม่น้ำเทมส์ และสามารถเชื่อมต่อไปยังสนามแข่งเรือพายได้ และในถนนบางแห่งจะปิดบางช่องทางการจราจรเพื่อเป็นช่องทางการเดินรถสำหรับแขกวีไอพีและนักกีฬา

โอลิมปิกที่จัดขึ้นในปีนี้ ใช้เทคโนโลยีดิจิตอล “ดีวีซีโปร-เอชดี” ของพานาโซนิก เป็นระบบการบันทึกวีดิทัศน์การแข่งขันอย่างเป็นทางการ ซึ่งเข้ารับภารกิจดังกล่าวเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน (นับรวมทั้งโอลิมปิกฤดูร้อนและโอลิมปิกฤดูหนาว) เริ่มตั้งแต่การแข่งขันที่บาร์เซโลนาของสเปน เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) โดยศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (International Broadcast Centre; IBC) ภายในสวนโอลิมปิกลอนดอน เป็นหน่วยงานหลักในการผลิตและเผยแพร่ วีดิทัศน์ระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ด้วยระบบภาพละเอียดสูง 1080/50ไอ

สำหรับหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิกในลอนดอน (Olympic Broadcasting Services London; OBSL) ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการกระจายเสียงและแพร่ภาพ จะใช้อุปกรณ์ชุด “เอชดี-พี2” เพื่อสนับสนุนการกระจายเสียงและแพร่ภาพการแข่งขัน และใช้กล้องวีดิทัศน์พกพารุ่น “เอจี-เอชพีเอ็กซ์ 250” ซึ่งบันทึกภาพด้วยระบบ “เอวีซี-อินทรา” และผลิตโดยบริษัทเดียวกับ “เอชดี-พี2” เป็นตัวแรก กับกล้องวีดิทัศน์พกพาระบบ “เอวีซีแคม เอชดี” สองรุ่นใหม่คือ “เอจี-เอซี160” และ “เอจี-เอซี130” ด้วยมุมมองภาพละเอียดสูง และเลนส์ซูมรุ่นใหม่ ความละเอียดสูง 21 เท่าซึ่งกว้างกว่าเดิม

การแข่งขันคราวนี้กำหนดการกระจายเสียงแพร่ภาพ ไปยังบรรดาผู้รับสิทธิถ่ายทอดแต่ละภูมิภาคตามสิทธิซึ่งไอโอซีกำหนด ให้สามารถถ่ายทอดโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นวงกว้างไปทั่วโลก โดยมีบรรษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งบริเตน (British Broadcasting Corporation; BBC) เป็นแม่ข่ายสำหรับโอลิมปิก ซึ่งวางเป้าหมายในการถ่ายทอด การแข่งขันครั้งนี้ผ่านช่องทางต่างๆ เป็นเวลารวม 5,000 ชั่วโมง ส่วนโทรทัศน์ช่อง 4 แห่งบริเตนใหญ่ เป็นแม่ข่ายสำหรับพาราลิมปิก และสำหรับในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไอโอซีทำข้อตกลงกับยูทูบ เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดสดการแข่งขันไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก ผ่านช่องโทรทัศน์ของไอโอซี ซึ่งอยู่ในเว็บไซต์ของตน รวมถึงแอปพลิเคชันยูทูบในสมาร์ตโฟน และของเอ็กซ์บ็อกซ์ไลฟว์ด้วย

ทั้งนี้ การถ่ายทอดโทรทัศน์ในกีฬาโอลิมปิกที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน ริเริ่มขึ้นโดยหน่วยบริการกระจายเสียงแพร่ภาพโอลิมปิก (Olympic Broadcasting Services; OBS) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทการกระจายเสียงและแพร่ภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (National Broadcasting Corporation; NBC) ถือสิทธิเป็นเจ้าของโดยถือหุ้นใหญ่ จึงมีส่วนแบ่งรายได้กับไอโอซีเกินกึ่งหนึ่ง ทุกวันนี้ ผู้ได้รับสิทธิถ่ายทอดการแข่งขัน มักส่งเจ้าหน้าที่ของตนเข้าปฏิบัติงาน ในพื้นที่แบ่งส่วนของศูนย์กระจายเสียงแพร่ภาพนานาชาติ (ไอบีซี) ของการแข่งขันแต่ละครั้ง โดยเริ่มปรากฏในโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 15 ที่เมืองคัลการีของแคนาดาในปี พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988)

ผู้สร้างสรรค์การแข่งขัน (Game Maker) เป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ของอาสาสมัครที่ไม่มีการจ้าง ซึ่งจะปฏิบัติงานอย่างหลากหลาย ทั้งช่วงก่อนและระหว่างการแข่งขัน โดยในช่วงต้นปี พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตั้งเป้าว่าจะมีอาสาสมัคร 70,000 คน แต่เมื่อเปิดรับสมัครในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) กลับมีผู้ได้รับคัดเลือกถึง 240,000 คน ซึ่งผู้สร้างสรรค์การแข่งขันเหล่านี้ จะปฏิบัติงานอาสาสมัคร เป็นเวลารวมประมาณ 8 ล้านชั่วโมงระหว่างการแข่งขัน ซึ่งไม่อาจเกิดขึ้นโดยสะดวก หากปราศจากบุคคลกลุ่มนี้

กีฬาโอลิมปิกคราวนี้ มีตราสัญลักษณ์สองแบบคือ ตราสัญลักษณ์สำหรับเสนอชื่อประมูล เป็นภาพริบบินคาดเส้นสีฟ้า สีเหลือง สีดำ สีเขียว และสีแดง ที่คดเคี้ยวคล้ายรูปร่างของแม่น้ำเทมส์ ทางตะวันออกของกรุงลอนดอน ลอดผ่านตัวอักษรข้อความ “LONDON 2012” ซึ่งออกแบบโดย คิโน ดีไซน์ (Kino Design) และตราสัญลักษณ์สำหรับการแข่งขันเอง เป็นภาพสื่อแสดงถึงตัวเลข 2012 ที่มีวงแหวนโอลิมปิกอยู่ภายในเลขศูนย์ ซึ่งออกแบบโดย โวลฟฟ์ โอลินส์ (Wolff Olins) ซึ่งมีการเปิดตัวและส่งมอบ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ทั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่ส่วนสำคัญของตราสัญลักษณ์โอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์จะมีรูปแบบเดียวกัน โดยสีมาตรฐานคือ ม่วงแดง, เขียว, ส้มและฟ้า อย่างไรก็ตาม ตราสัญลักษณ์นี้สามารถรวบรวมสีสันที่หลากหลาย รวมทั้งสีในธงสหภาพ (Union Flag) ด้วยเช่นกัน

เว็นล็อก (Wenlock) กับ แมนด์วิลล์ (Mandeville) เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ (Mascot) อย่างเป็นทางการของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ โดยมีการเปิดตัวเมื่อ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) ซึ่งนับเป็นครั้งที่สอง ต่อจากที่แวนคูเวอร์ของแคนาดา ซึ่งมีการเปิดตัวตุ๊กตาสัญลักษณ์ของโอลิมปิก และพาราลิมปิกเกมส์พร้อมกัน ทั้งสองตัวนี้เป็นแอนิเมชัน ที่สื่อแสดงถึงหยดเหล็กสองหยาด จากโรงถลุงเหล็กในเมืองโบลตัน

สำหรับชื่อของทั้งสองตัว คือเว็นล็อก มาจากนามสกุลของ มัช เว็นล็อก (Much Wenlock) แห่งเมืองซรอปเชียร์ (Shropshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปัจจุบัน กับแมนด์วิลล์ มาจากนามสกุลของ สโตก แมนด์วิลล์ (Stoke Mandeville) แห่งเมืองบักกิงแฮมเชียร์ (Buckinghamshire) ผู้บุกเบิกการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์เป็นครั้งแรก

โดยนักเขียน ไมเคิล มอร์ปูร์โก (Michael Morpurgo) เป็นผู้เขียนแนวคิดของตุ๊กตาสัญลักษณ์คู่นี้ จากนั้นแอนิเมชันก็ประดิษฐ์ขึ้น โดยตั้งใจจะให้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเรื่องราวต่อเนื่อง เกี่ยวกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่ใช้ในการแข่งขันคราวนี้ ซึ่งมีสองเรื่องคือ “Out Of A Rainbow” ที่จะบอกเล่าความเป็นมา ของเว็นล็อกกับแมนด์วิลล์ และเรื่อง “Adventures On A Rainbow” ซึ่งมีสาระสำคัญอยู่ที่เด็กๆ จากเรื่องแรก มาพบกับตุ๊กตาสัญลักษณ์ทั้งสอง แล้วพากันทดลองเล่นกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกและพาราลิมปิกที่มีมากมาย

จำนวนเหรียญรางวัล สำหรับโอลิมปิกและพาราลิมปิกเกมส์ มีประมาณ 4,700 เหรียญ ผลิตขึ้นโดยโรงกษาปณ์หลวง (The Royal Mint) และออกแบบโดย เดวิด วัตกินส์ (David Watkins) มีน้ำหนัก 375-400 กรัม ความหนา 7 มิลลิเมตร ซึ่งสลักชื่อกีฬาและประเภทรุ่นที่ขอบเหรียญ ตามธรรมเนียมที่สืบทอดมา หน้าเหรียญเป็นภาพไนกี เทพธิดาแห่งชัยชนะของกรีก ก้าวย่างจากมหาวิหารพาร์เธนอน (Parthenon) ส่วนลักษณะของหลังเหรียญ มีตราสัญลักษณ์การแข่งขัน ลายเส้นโค้งสื่อถึงแม่น้ำเทมส์ และชุดของเส้นตรง อันมีนัยสื่อถึงพลังของนักกีฬา

ฝ่ายประชาสัมพันธ์การแข่งขัน คัดเลือกให้ซิงเกิล “Survival” ที่ออกโดย Muse วงดนตรีสัญชาติอังกฤษ เป็นเพลงอย่างเป็นทางการ ของโอลิมปิกคราวนี้ ซึ่งจะเล่นออกทางเครื่องขยายเสียง เมื่อนักกีฬาเข้าสู่สนาม และช่วงเวลาก่อนพิธีมอบเหรียญรางวัล รวมทั้งนานาประเทศผู้รับสิทธิถ่ายทอดจะเล่น ระหว่างที่รายงานการแข่งขันด้วย

พิธีเปิดการแข่งขัน จัดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 โดยใช้แนวคิด "เกาะมหัศจรรย์" (The Isles of Wonder) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากวรรณกรรม "เดอะ เทมเปสต์" ของวิลเลียม เชกสเปียร์ โดยในการแสดงในพิธีเปิดจะปรับสภาพสนามให้เป็นชนบทอังกฤษ มีชาวบ้านปิกนิกและนั่งชมกีฬา และมีการจำลองเนินเขาแกลสตันบูรี ซึ่งเป็นสถานที่จัดเทศกาลดนตรีและศิลปะที่มีชื่อเสียง ใช้นักแสดงประมาณ 10,000 คน โดยแดนนี บอยล์ ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัลออสการ์ จากภาพยนตร์เรื่อง สลัมด็อก มิลเลียนแนร์ คำตอบสุดท้าย...อยู่ที่หัวใจ เป็นผู้กำกับฝ่ายศิลป์ ส่วนริค สมิธ (Rick Smith) กับ ฆาร์ล ไฮด์ (Karl Hyde) ดูโอของวงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ “อันเดอร์เวิลด์” (Underworld) เป็นผู้กำกับดนตรี

สำหรับพิธีปิดการแข่งขัน จะจัดขึ้นในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งประกอบด้วยพิธีส่งมอบธงโอลิมปิก จากนายกเทศมนตรีของกรุงลอนดอน ไปยังนายกเทศมนตรีกรุงรีโอเดจาเนโรของบราซิล ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งต่อไปในปี พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016)

การวิ่งคบเพลิงโอลิมปิก มีขึ้นระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) การคัดเลือกผู้เชิญคบเพลิงมีขึ้นใช่วงปี พ.ศ. 2553 - 2554 ด้วย ซึ่งประกาศผลเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) โดยไฟฤกษ์โอลิมปิกเดินทางมาจากกรีซ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 การวิ่งคบเพลิงใช้เวลา 70 วัน โดยมีงานฉลอง 66 ครั้ง และการเยือนเกาะ 6 แห่ง ซึ่งมีผู้เชิญคบเพลิง 8,000 คน เป็นระยะทางประมาณ 8,000 ไมล์ (12,800 กิโลเมตร) เริ่มต้นที่แลนดส์เอ็นด์ในคอร์นวอลล์ ทั้งนี้จะมีหนึ่งวันที่คบเพลิงจะออกนอกสหราชอาณาจักร เมื่อไปเยือนกรุงดับลิน ของสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ในวันที่ 6 มิถุนายน

คาดว่ามีนักกีฬาราว 10,800 คน จาก 204 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่านักกีฬาที่เข้าแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1948 ซึ่งจัดที่กรุงลอนดอน และกีฬาเครือจักรภพ 2002 ซึ่งจัดที่แมนเชสเตอร์ โอลิมปิกครั้งนี้จึงเป็นการแข่งขันมหกรรมกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยจัดในสหราชอาณาจักร

นักกีฬาสามคนจากคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งเนเธอร์แลนด์แอนทิลลิส ซึ่งสมาชิกภาพถูกคณะกรรมการโอลิมปิกสากลถอนไปในสมัยประชุมไอโอซีเมื่อเดือนมถุนายน พ.ศ. 2554 และนักกีฬาอีกหนึ่งคนจากซูดานใต้ ซึ่งไม่มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ได้รับการรับรอง เข้าแข่งขันโดยอิสระภายใต้ธงโอลิมปิก

รายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 มีดังต่อไปนี้ (ตัวเลขในวงเล็บหมายถึงจำนวนนักกีฬา)

คณะนักกีฬาทีมชาติไทย ที่เข้าแข่งขันในคราวนี้ มีทั้งหมด 37 คน จาก 16 ชนิดกีฬาคือ กรีฑา 2 คน, ขี่ม้า 1 คน, จักรยาน 1 คน, เทควันโด 3 คน, แบดมินตัน 6 คน, เทเบิลเทนนิส 1 คน, มวยสากลสมัครเล่น 3 คน, ยกน้ำหนัก 7 คน, ยูโด 1 คน, ยิงธนู 1 คน, ยิงปืน 3 คน, ยิงเป้าบิน 1 คน, เรือใบ 1 คน, เรือพาย 2 คน, ว่ายน้ำ 2 คน และ วินด์เซิร์ฟ 2 คน

ในกีฬาโอลิมปิกคราวนี้ กำหนดการแข่งขันใน 26 ชนิดกีฬา รวมทั้งหมด 39 ประเภทรุ่น และในวงเล็บคือจำนวนเหรียญทองของแต่ละรายการ

เป็นครั้งแรกที่มีการบรรจุกีฬามวยสากลสมัครเล่นหญิงเข้าสู่โปรแกรม ซึ่งมีนักกีฬาร่วมแข่งขัน 36 คนใน 3 รุ่นพิกัดน้ำหนัก ยังมีกฎยกเว้นกรณีพิเศษ เพื่อยอมให้แข่งขันยิงปืนทุกประเภทดำเนินไปได้ มิฉะนั้นจะเป็นความผิดตามกฎหมายอาวุธปืนของสหราชอาณาจักร ในกีฬาเทนนิส คู่ผสมกลับมาบรรจุในโปรแกรมโอลิมปิกเป็นครั้งแรกนับแต่ พ.ศ. 2467

กรุงลอนดอนเสนอจัดการแข่งขัน 28 ชนิดกีฬา ตามโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งล่าสุด แต่ไอโอซีลงมติให้ระงับการแข่งขันเบสบอลและซอฟต์บอล หลังคัดเลือกให้กรุงลอนดอนเป็นเมืองเจ้าภาพได้สองวัน ไอโอซียืนยันการตัดสินใจระงับนี้ ระหว่างโอลิมปิกฤดูหนาว 2006 หลังกรุงลอนดอนแพ้เสียงลงมติให้พิจารณาใหม่ และกำหนดการแข่งขันครั้งสุดท้ายสำหรับโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 สืบเนื่องจากข้อตกลงในการระงับกีฬาสองประเภทดังกล่าว ไอโอซีเปิดการลงคะแนนว่าจะเลือกกีฬาอื่นมาแทนที่หรือไม่ โดยกีฬาที่นำมาพิจารณาได้แก่ คาราเต้ สควอช กอล์ฟ กีฬาล้อเลื่อน และ รักบี้เจ็ดคน สองประเภทสุดท้ายที่เสนอขึ้นมาคือคาราเต้และสควอช แต่คะแนนเสียงไม่ถึงสองในสามตามข้อบังคับ

แม้จะธรรมเนียมการจัดกีฬาสาธิตจะถูกยกเลิกไปตั้งแต่โอลิมปิกฤดูร้อน 1992 แต่การแข่งขันรายการพิเศษสำหรับกีฬาที่ไม่อยู่ในโอลิมปิก สามารถดำเนินไปได้ระหว่างการแข่งขันได้ ดังเช่นการแข่งขันรายการวูซู ที่โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 มีความพยายามจะดำเนินการแข่งขันรายการทเวนตีคริกเก็ต และเน็ตบอล ควบคู่ไปกับการแข่งขันในคราวนี้เช่นกัน แต่โครงการดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180